รายละเอียดกิจกรรม/ข่าว  รายละเอียดกิจกรรม/ข่าวสาร : ๏ฟฝ๏ฟฝาน๏ฟฝ๏ฟฝ

ประชุมโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการเรียนรู้เด็กนักเรียนและเยาวชน ในถิ่นทุรกันดาร จังหวัดนราธิวาส เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาทักษะให้สามารถอ่านออกเขียนได้
    เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๔ นางสาวนงนุช กั้งยอด ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเปล เข้าร่วมการประชุมโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการเรียนรู้เด็กนักเรียนและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร จังหวัดนราธิวาส โดยนายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ให้เกียรติเป็นประธานการประชุม ร่วมด้วยนางดาเรศ จิตรัตน์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนราธิวาส ศึกษาธิการจังหวัดนราธิวาส ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต ๑ , ๒ ,๓ ผู้อำนวยการโรงเรียนใน โครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในจังหวัดนราธิวาส คณะกรรมการเหล่ากาชาด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมพระนราภิบาล ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดนราธิวาส การประชุมครั้งนี้มีการแจ้งข้อมูลการดำเนินโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการเรียนรู้เด็กนักเรียนและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร จังหวัดนราธิวาส จากนั้นที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาแนวทางการขับเคลื่อนโครงการฯ ซึ่งได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายจากโรงเรียนในโครงการพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ประกอบด้วยโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส จำนวน ๑๗ โรงเรียน โรงเรียนในสังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน ๕ โรงเรียน และโรงเรียนในสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดนราธิวาส จำนวน ๓ โรงเรียน รวม ๒๕ โรงเรียน สำหรับแผนและขั้นตอนการดำเนินงาน ให้โรงเรียนนำคะแนนจากภาคเรียนที่ ๒ ในปีการศึกษา ๒๕๖๓ โดยนำนักเรียนที่ปรับปรุงมาดำเนินการสอนซ่อมเสริม เริ่มสอนตั้งแต่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔ เป็นต้นไป โดยโรงเรียนที่ดำเนินการสอนจะต้องแจ้งข้อมูลการสอนให้แก่เหล่ากาชาดจังหวัดนราธิวาสทราบ เพื่อติดตาม นิเทศ และประเมินผล ในห้วงเวลาที่กำหนด คือ ครั้งที่ ๑ วันที่ ๔ สิงหาคม – ๒๒ กันยายน ๒๕๖๔ และครั้งที่ ๒ วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๔ – ๒๖ มกราคม ๒๕๖๕ โดยเมื่อดำเนินการโครงการฯ เสร็จสิ้น โรงเรียนต้องสรุปรายงานการสอนให้เหล่ากาชาดจังหวัดนราธิวาสทราบภายในเดือนมีนาคม ๒๕๖๕ โดยผู้เข้าร่วมการประชุมได้เสนอแนวทางการขับเคลื่อน /ปัญหาอุปสรรค เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการฯ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งในภาพรวมสถานศึกษาที่ร่วมดำเนินโครงการได้ให้ความสำคัญในด้านการอ่านออก เขียนได้ โดยจะมีการจัดการสอนซ่อมเสริมให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละโรงเรียน สภาพปัญหาของเด็กแต่ละคนที่แตกต่างกัน ใช้เทคนิคการสอนที่เหมาะสม เนื่องจากปัญหาการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ส่งผลต่อการเรียนรู้ในทุกวิชา นอกจากจะสามารถอ่านออก เขียนได้แล้วยังต้องคำนึงถึงการรับรู้ถึงความหมายของข้อความเหล่านั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องอีกด้วย ทั้งนี้ กรณีที่ขาดแคลนครูผู้สอนทางสำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดนราธิวาสจะจัดครูอาสาไปช่วยสอนในโรงเรียนเพิ่มเติม ซึ่งจากการดำเนินการที่โรงเรียนบ้านโคกสยาที่เป็นโรงเรียนนำร่อง นักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๕ มีจำนวน ๒๗ คน หลังจากมีการสอนซ่อมเสริม จากการประเมินผลครั้งที่ ๑ นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินบางส่วนคิดเป็นร้อยละ ๓๐ ซึ่งจะนำข้อมูลต่างๆมาถอดบทเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนและเยาวชนให้มีความเหมาะสมต่อไป
บันทึกข้อมูลเมื่อ 31-01-2564
ประมวลภาพกิจกรรม

คลิกเพื่อดูรูปขนาดใหญ่

คลิกเพื่อดูรูปขนาดใหญ่

คลิกเพื่อดูรูปขนาดใหญ่

คลิกเพื่อดูรูปขนาดใหญ่

คลิกเพื่อดูรูปขนาดใหญ่

คลิกเพื่อดูรูปขนาดใหญ่

คลิกเพื่อดูรูปขนาดใหญ่

คลิกเพื่อดูรูปขนาดใหญ่

คลิกเพื่อดูรูปขนาดใหญ่
กิจกรรมต่างๆ ที่ผ่านมาของ๏ฟฝ๏ฟฝาน๏ฟฝ๏ฟฝ
  1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74 75 76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100 101 102 103 104 105 106 107 108 page 1 / 108
 ถวายกำลังใจ แด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี[23-03-2564]
 กิจกรรมการเคลือบฟลูออไรด์ฟันให้นักเรียนชั้นปฐมวัย[10-02-2564]
 ทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ นอกสถานที่[06-02-2564]
 เก็บตัวอย่างน้ำบริโภคโรงเรียน โรงเรียนในโครงการ ตามพระราชดำริ[06-02-2564]

หน้าแรก